การทำงานกับถังแก๊สอย่างปลอดภัย

 
 
การทำงานกับถังแก๊สอย่างปลอดภัย
 
ในงานอุตสาหกรรมหลายประเภทต้องใช้ “ก๊าซ” ต่างๆ ในกระบวนการผลิตหรือส่วนประกอบ และเนื่องจาก “ก๊าซ” มีมากมายหลายชนิด และบางชนิดหากไม่มีการป้องกันในการใช้หรือจัดเก็บอย่างดีพอก็จะเป็นปัจจัยให้เกิดอุบัติเหตุหรือความสูญเสียที่ร้ายแรงได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดอัคคีภัยหรืออันตรายต่อสุขภาพกรณีเกิดการรั่วไหลเข้ามาในสถานที่ทำงานหรือชุมชน ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานจะต้องศึกษาและปฏิบัติตามขั้นตอนของการทำงานที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของทุกคน
 
การปฏิบัติงานกับถังก๊าซ
- ก่อนการปฏิบัติงานควรอ่านฉลากและข้อมูลรายละเอียดของก๊าซก่อน
- มือและเสื้อผ้าของผู้ปฏิบัติงานต้องสะอาดปราศจากคราบไขมัน จารบี และฝุ่น เพื่อป้องกันการลื่น และ ป้องกันหัวฉีด หรือวาล์วสกปรก
- การลาก หรือการเลื่อนไถลถังบรรจุก๊าซจะทำให้ถังชำรุดเสียหายได้ ให้กลิ้งโดยใช้ขอบถังด้านล่างสำหรับระยะทางใกล้ๆ เท่านั้น
- จัดสถานที่ล้างตา ฝักบัวชำระร่างกาย หน้ากากช่วยหายใจและอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ใกล้บริเวณที่ทำงานแต่ไม่อยู่ในบริเวณซึ่งก๊าซรั่วไหลไปถึงได้ทันที
- เก็บเครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งไว้ใกล้มือ และหมั่นตรวจสภาพทุกเดือน
- ปฏิบัติงานกับถังก๊าซทุกถัง เหมือนกับเป็นถังที่มีก๊าซเต็ม
- ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่จะทำให้ถังชำรุด
- จัดให้มีที่ยึดถังที่แน่นมั่นคง
- หมุนปิดฝาครอบวาล์วให้แน่นด้วยมือ
- ขณะเคลื่อนย้ายถังบรรจุก๊าซต้องมีฝาครอบวาล์วปิดอยู่เสมอ
- ให้เคลื่อนย้ายถังก๊าซในแนวตั้ง ล่ามถังบนพาหนะหรือรถเข็นที่ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายถังก๊าซ
 
 
 
ข้อห้าม
- อย่าให้เปลวไฟจากอุปกรณ์ อาทิ เครื่องเชื่อมด้วยไฟฟ้าโดนถัง
- ห้ามถ่ายเทก๊าซจากถังหนึ่งไปอีกถังหนึ่ง
- ห้าม่ยกถังโดยยกที่ฝาครอบ
- อย่าใช้ถังเป็นที่วางรองสิ่งใดๆ หรือใช้เป็นลูกกลิ้ง
- อย่าทำถังตกหรือล้ม เพราะถังอาจระเบิด หรือทำให้วาล์วชำรุดหรือแตกได้
- ห้ามนอนถังก๊าซอะเซทิลีน
- อย่าเชื่อเพียงสัญลักษณ์สีที่ใช้จำแนกชนิดของก๊าซให้ตรวจชนิดก๊าซจากรอยประทับหรือป้ายที่ถัง
- อย่าวางถังในบริเวณที่ถังจะกลายเป็นสื่อไฟฟ้าได้
การจัดเก็บถังบรรจุก๊าซ
- เก็บถังก๊าซในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี และแห้ง โดยวางห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อน หรือแหล่งกำเนิดประกายไฟ ถังก๊าซไม่ได้ออกแบบสำหรับใช้ในอุณหภูมิสูงกว่า 54 องศาเซลเซียส เมื่อเก็บต้องตรวจตราดูว่าได้สวมฝาครอบวาล์ว
- แยกเก็บถังบรรจุก๊าซออกซิเจน หรือก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาแล้วให้ก๊าซออกซิเจนกับถังก๊าซไวไฟห่างจากกันอย่างน้อย 6 เมตร(20 ฟุต) หรือใช้กำแพงทนไฟที่สามารถทนได้นานครึ่งชั่วโมง มีความสูง 1.5 เมตร(5ฟุต)กั้น
- เก็บถังห่างจากวัสดุหรือสารไวไฟ เช่น สีน้ำมัน สารละลายต่างๆ อย่างน้อย6 เมตร
- บันทึกหมายเลขประจำถัง และชื่อก๊าซที่บรรจุในถัง หากไม่ทราบให้ติดป้ายนั้นว่า”ไม่ทราบชื่อก๊าซ”และแจ้งให้ผู้จำหน่ายจัดการต่อไป ไม่ควรใช้สีหรือเครื่องหมาย
กำหนดชนิดของก๊าซ
- กำหนดพื้นที่จัดเก็บถังก๊าซตามประเภทก๊าซที่บรรจุในถัง ได้แก่ ก๊าซไวไฟ ก๊าซที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาหรือให้ก๊าซออกซิเจน และก๊าซเฉื่อย
- ใช้ถังบรรจุก๊าซที่ใช้หมุนเวียนจากผู้จำหน่ายเท่านั้น
- วางแผนการจัดเก็บให้สามารถใช้ถังชุดเก่าได้ก่อนโดยสะดวก
- ในสถานที่ทำงานควรเก็บถังก๊าซที่ใช้เฉพาะในงานเท่านั้น
- กำหนดสถานที่จัดเก็บถังก๊าซ และติดป้าย “ห้ามสูบบุหรี่” รวมทั้งกฎข้อบังคับต่างๆ
- เก็บถังไว้ในที่ๆ จะไม่เปรอะเปื้อนกับน้ำมันหรือจารบี
- ไม่ว่าถังนั้นจะบรรจุก๊าซหรือเป็นถังเปล่าให้ตั้งถังและยึดด้วยโซ่กันถังล้ม
- ทุกถังต้องติดรายละเอียดต่างๆ อย่างถูกต้อง ชัดเจน หากไม่ถูกต้องอย่ารับไว้
- จัดเก็บถังที่มีก๊าซแยกจากถังเปล่า เพื่อป้องกันอันตรายจากการเติมก๊าซชนิดถัง
- ปิดวาล์วถังก๊าซที่หมดแล้ว สวมฝาครอบวาล์ว ทำเครื่องหมายแสดงว่าถังเปล่า หรือติดป้าย”ถังเปล่า”และส่งคืนผู้จำหน่ายทันที
- ป้องกันถังก๊าซจากสภาพอากาศร้อนจัด เย็นจัด เช่น อย่าให้ถูกแสงแดดโดยตรง เป็นต้น
- จัดเก็บถังก๊าซให้ห่างจากลิฟท์ บันได ประตู และทางเดิน
 
ที่มา : สำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
 
หากมีข้อเสนอแนะหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รวมทั้งสั่งซื้อสินค้าจากทาง www.tsafethai.com สามารถติดต่อมาได้ที่ 02-175-5651 หรือ email มาที่ salesteam01.gsi@gmail.com 
Visitors: 72,531