มาตรฐานฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉิน

มาตรฐานฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉิน Emergency Shower and Eye Wash

มีความเป็นไปได้สูงที่ระหว่างการปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมีชนิดต่างๆ ผู้ปฏิบติงานจะได้รับอันตรายจากสารเคมีโดยการสัมผัสที่ผิวหนังหรือแดวงตา ทำให้เกิดการบาดเจ็บอย่างรุนแรง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  สารเคมีบางชนิด เช่น สารกัดกร่อน เป็นอันตรายอย่างยิ่งแม้สัมผัสเพียงครั้งเดียว และยังมีสารอีกหลายชนิดที่เปรอะเปื้อนเสื้อผ้าผู้ปฏิบัติงานแล้วสามารถซึมผ่านผิวหนังอย่างรวดเร็ว ดังนั้น นอกเหนือจากมาตรการควบคุมทางวิศวกรรม แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย รวมทั้ง อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลแล้ว นายจ้างจะต้องจัดหาฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินเป็นอุปกรณ์พื้นฐาน  สำหรับใช้ในการปฐมพยาบาลผู้ปฏิบัติงานที่สัมผัสกับสารเคมีเพื่อลดหรือบรรเทาอาการบาดเจ็บให้เหลือน้อยที่สุด   ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวต้องสนองตอบความต้องการในเรื่องการชำระล้างที่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง สามารถเข้าถึงได้อย่างง่ายและรวดเร็วอีกด้วย

 

สารกัดกร่อน....อันตรายร้ายแรงเมื่อสัมผัสผิวหนังหรือแดวงตา

สารกัดกร่อน (Corrosive Substance) เป็นสารเป้าหมายในการพิจารณาใช้ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉิน หมายความว่า เมื่อมีการใช้งานสารกัดกร่อน (กรด ด่างแอนไฮไดรด์ เปอร์ออกไซด์ และเกลือของโลหะบางชนิด สารออกซิไดซ์อยางแรง) ต้องประเมินอันตรายล่วงหน้า คนงานมีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บเนื่องจาการสัมผัสกับสารเคมี ดังนั้นหนึ่งในอุปกรณ์จำเป็นสำหรับการเสริมสร้างความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ ฝักบัวอาบน้ำและ/หรือที่ล้างตาฉุกเฉินซึ่งในการเลือกแบบหรือชนิดอุปกรณ์จะต้องพิจารณาระดับอันตรายหรือความรุนแรงของสารร่วมด้วย

ระดับอันตรายหรือความรุนแรงของ สารกัดกร่อน ขึ้นอยู่กับตัวแปรต่อไปนี้

  1. ค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสารละลายที่มีในสารนั้น โดยอันตรายหรือการบาดเจ็บจะเกิดขึ้นมากที่ pH ต่ำกว่า 2.5 หรือสูงกว่า 11.5
  2. ธรรมชาติของสารนั้นๆ     
              ด่าง (เช่น caustic soda) มีอันตรายมากกว่ากรอ เนื่องจากสามารถละลายเนื้อเยื่อและซึมผ่านลงไปในผิวหนังได้ลึกกว่า
      กรดแร่ (เช่น กรดเกลือ กรดไนตริก)โดยทั่วไปแล้ว มีอันตรายมากกว่ากรดอินทรีย์ (ช่นกรดน้ำส้ม กรดซีตริก)
             สารบางชนิด เช่น กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric Acid) กรดโครมิค (Chromic) ฟีนอล (Phenol) และ Chlorinated Acids เป็นสารกัดกร่อนรุนแรง 

  3. ความเข้มข้นของสาร อันตรายจากการกัดกร่อนอย่างเฉียบพลันจะเกิดขึ้นเมื่อสารมีความเข้มข้น 20% ขึ้นไป ยกเว้นสารกัดกร่อนรุนแรง เช่น กรดกัดแก้ว (Hydrofluoric Acid) แม้ว่าจะมีความเข้มข้นต่ำกว่า 10% ก็มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรงมาก อย่างไรก็ตาม สารกัดกร่อนใดๆไม่ว่าจะมีระดับความเข้มต่ำหรือสูง ดวงตาเป็นอวัยวะที่จะได้รับผลกระทบรุนแรงเมื่อมีการสัมผัส 

สารอื่นๆที่เป็นอันตรายจากกรสัมผัส

  • สารที่มีค่า Dermal LD50 ต่ำกว่า 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สามารถก่อให้เกิดอันตรายหรือเป็นพิษเมื่อสัมผัสผิวหนังในเวลาสั้นๆ เช่น สารกำจัดศัตรูพืช (Pesticide) สารรักษาเนื้อไม้และสารประกอบอินทรีโลหะที่เป็นสารพิษ
  • สารท ี่ทำให้เกิดการแพ้อย่างรุนแรง ประเภท plastic monomer (เช่น TDI) สามารถก่อให้เกิดการแพ้หรือเกิดการระคายเคืองอย่างรุนแรง แม้ว่าจะสัมผัสในระยะเวลาสั้นๆก็ตาม
  • ฝุ่น สามารถก่อให้เกิดการระคายเคืองหรือบาดเจ็บที่ตาได้ ฝุ่นบางชนิดก่อให้เกิดพิษ หรือการติดเชื้อ ฝุ่นโลหะหรือผลึกก็มีอันตราย เช่นเดียวกัน
  • สารที่ระบุไว้ใน MSDS ว่าก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและตาอย่างรุนแรงและสารอื่นที่ระบุใน MSDS ว่าต้องมีฝักบัวอาบน้ำและ/หรือที่ล้างตาฉุกเฉิน ใช้เป็นอุปกรณ์ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ก็ควรพิจารณาการติดตั้งฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินเป็นพิเศษ ทั้งนี้ให้นำเรื่องของความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายเข้าร่วมพิจารณาด้วย
  •    

การออกแบบและจุดประสงค์ของการออกแบบ

  • ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินออกแบบมาเพื่อใช้ชะล้างสารอันตรายที่เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บซึ่งส่วนของร่างกายที่เปรอะเปื้อนสารอันตราย ต้องได้รับการชะล้างด้วยน้ำสะอาดเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
  • ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินออกแบบให้ชะล้างศีรษะและลำตัวของผู้ใช้และใช้ชะล้างสารอันตรายที่เปรอะเปื้อนชุดปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินจะไม่ใช้ชะล้างตาเพราะอัตราการไหลของน้ำที่สูงอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อตาได้ ดังนั้น จึงต้องแยกที่ล้างตาฉุกเฉินออกมาต่างหากเพื่อใช้ล้างตาและใบหน้าด้วยน้ำที่ความดันเหมาะสมซึ่ง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้
  • ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินมีความจำเป็นสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารกัดกร่อนหรือสารอันตราย ดังนี้ 
                 มีการใช้หรือทำงานกับสารอันตรายจำนวนมาก ผตั้งแต่ 1 ลิตรขึ้นไป)
      สารกัดกร่อนหรือสารอันตราย มีผลอันตรายนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วหรือเฉียบพลัน
      การทำงานมีความเสี่ยงต่อการถูกสารเข้าตาหรือเปรอะเปื้อนร่างกายในปริมาณมาก
       การเคลื่อนย้ายสารในปริมาณมากหรือการทำงานใกล้ถังหรือภาชนะที่มีโอกาสถูกสารอันตรายเปรอะเปื้อน
       การเก็ย การเคลือนย้าย การถ่ายเทสารที่อยู่สูงเกินระดับไหล่
       ในที่ที่มีฝุ่น ไอ ละอองของสารอันตรายที่มีปริมาณสูง หรือความเข้มข้นสูง หรืออาจมีการกระเด็นของสารอันตรายในขณะปฏิบัติงาน
  • ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉิน ควรติดตั้งในพื้นที่ และการปฏิบัติงาน ดังต่อไปนี้
              บริเวณบรรจุไฟแบตเตอรี่/โรงซ่อมบำรุงแบตเตอรี
      ห้องทดลอง
      การพ่นสี / การลอกสี
      การเก็บ ขนย้ายถ่ายเทสารเคมีอันตราย
      การรับ/การจ่ายน้ำมันเครื่องบิน การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงยานยนต์
      การทำความสะอาด/การล้างไขมัน การทำความสะอาดโลหะ
      การชุบโลหะด้วยไฟฟ้า
      การผลิต ผสม การแบ่งบรรจุสารเคมี
      การแยกทอง
      การผสมสารกำจัดศัตรูพืช
      การใช้ด่างในการทำความสะอาด
      โรงงานบำบัดน้ำเสีย
      การทำงานเกี่ยวกับแอมโมเนีบและสารอนตรายอื่นๆ
 
พื้นที่และการปฏิบัติงานดังกล่าว ถ้าหากวิเคราะห์และประเมินออกมาได้ว่า มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารอ้นตรายที่ดวงตา ใบหน้า หรือ ส่วนอื่นๆของร่างกาย ก็มีความจำเป็นจะต้องติดตั้งฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 24 (พ.ศ.2530) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2521 เรื่องหน้าที่ของผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานข้อ 67 ระบุว่า “ในกรณีที่คนงานต้องปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับวัตถุมีพิษ วัตถุเคมีหรือวัตถุอื่นๆที่อาจเป็นอันตรายต่อผิวหนังหรือร่างกาย ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีที่อาบน้ำฉุกเฉิน (Safety Shower) ที่ล้างตาฉุกเฉิน (Eye Bath) ตามความจำเป็นและเหมาะสมสำหรับทำความสะอาดร่างกายขั้นต้นเมื่อสัมผัสกับวัสดุดังกล่าว" 
 
จากข้อมูลการตรวจโรงงานของเจ้าหน้าที่ กรมโรงงานอุตสาหกรรม พบว่าโรงงานส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงฯ ดังกล่าว หรือปฏิบัติแต่ก็ไม่ถูกต้อง หรือไม่เหมาะสม ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าประกาศกระทรวงฯ ไม่มีรายละเอียดเพียงพอที่จะให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
 
ฉะนั้น ในที่นี้จึงขอทำความเข้าใจในเรื่องของความจำเป็นในการติดตั้งและลักษณะฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินตามมาตรฐาน ANSI Z358.1-1998 “Emergency Eye Wash and Shower Equipment” ซึ่งมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
ข้อกำหนดทั่วไป
  1. นายจ้างและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือคนงานต้องสำรวจ ตรวจสอบความต้องการในการใช้ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน
  2. ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินต้องมีคุณภาพและลักษณะตรงตามมาตรฐานอันเป็นที่ยอมรับกันได้
  3. ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉิน ต้องเขาถึงได้โดยง่ายและมีประสิทธิภาพสามารถชะล้างสารอันตรายออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ต้องมีสัญญาณเสียงหรือไฟกะพริบ หากมีการใช้งาน
  5. นายจ้างจะต้อดูแล ตรวจสอบรวมทั้ง ทดสอบการใช้งานอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  6. นายจางต้องจัดทำคู่มือการใช้งานและอบรมการใช้งานให้แก่คนงาน

ลักษณะและประสิทธิภาพของฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและที่ล้างตาฉุกเฉินตามมาตรฐาน ANSI Z358.1-1998

ฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน

  1. น้ำที่ถูกปล่อยออกมาต้องมีความเร็วที่ไม่เป็นอันตรายต่อคนงาน ทั้งนี้ฝักบัวจะต้องปลอยน้ำได้อย่างน้อย 75.7 ลิตร/นาที (LPM) หรือ 20 แกลลอน/นาที (GPM) ที่แรงดัน 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว (PSI) เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 นาที
  2. อุปกรณ์การควบคุมปิด-เปิด (วาล์ว) ต้องเข้าถึงได้ง่ายและสามารถปล่อยน้ำได้ภายใน 1 วินาทีหรีอน้อยกว่า
  3. วาล์วน้ำต้องยังคงเปิดและรักษาอัตราการไหลของน้ำอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ต้องใช้มือของผู้ใช้บังคับจนกว่าจะปิดโดยตั้งใจ
  4. ต้องมีป้าย ณ จุดติดตั้งให้เห็นได้อย่างชัดเจน
  5. ฝักบัวนี้ต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว มีระยะไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) จากจุดเสี่ยงและคนงานต้องสามารถไปถึงได้ ภายใน 10 วินาที เส้นทางที่ไปต้องโล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นเส้นทางตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องมีแสงสว่างเพียงพอ  อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่นั้น มีการใช้สารเคมีอันตรายสูง เช่น กรดแก่ ด่างแก่ หรือสารอื่นที่มีผลกระทบรุนแรง ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินให้ติดกับพื้นที่นั้นๆหรือ ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้
  6. จุดติดตั้งต้องอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันกับพื้นที่ที่มีความเสี่ยง (เช่น ทางที่จะไปถึงไม่ควรต้องลงหรือขึ้นไปชั้นอื่นหรือเป็นทางลาดขึ้น-ลง)
  7. อุณหภูมิของน้ำควรรักษาให้คงที่และควรอยู่ระหว่าง 15 -35 ํ C ํ ในกรณีที่เคมีทำให้ เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง (Chemical burn) ควรให้น้ำมีอุณหภูมิอยู่ที่ 15C ํ และหากปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือถูกเร่งที่อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ควรศึกษาจาก MSDS หรือผู้จำหนาย เพื่อขอข้อมูลอุณหภูมิน้ำที่จะใช้กับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน
  8. ตำแหน่งการติดตั้ง  
             ฝักบัวควรอยู่ในระยะ 82 นิ้ว (208.3 ซม.)-96 นิ้ว (243.8 ซม.) จากระดับพื้น
      ที่ระดับ 60 นิ้ว (152.4 ซม.) สูงจากพื้น ละอองน้ำจากผักบัวต้องแผ่กว้างออกไปในระยะเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 นิ้วเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางของละอองน้ำดังกล่าว ควรห่างจากสิ่งกีดขวางอย่างน้อย 16 นิ้ว
       คันชักเปิดวาล์วน้ำเข้าถึงได้ง่ายและไม่ควรสูงเกิน 69 นิ้ว (173.3 ซม.) จากระดับพื้น

อ่างล้างตาฉุกเฉิน

  1. ความเร็วของน้ำต้องต่ำพอที่จะไม่เกิดอันตรายกับตาของผู้ใช้น้ำจะต้องจ่ายให้กับตาทั้งสองข้างอย่างต่อเนื่องที่อัตราการไหลไม่น้อยกว่า 1.5 ลิตร/นาทีหรือ 0.4 แกลลอน/นาทีที่แรงดัน 40 ปอนด์/ตารางนิ้วเป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที
  2. น้ำต้องไหลภายใน 1 วินาทีหลังจากเปิดวาล์วและยังคงเกิดอยู่โดยไม่ต้องใช้มือของผู้ใช้งานบังคับจนกว่าจะปิดโดยตั้งใจ น้ำจะต้องสะอาดปราศจากสิ่งปนเปื้อนที่มองเห็นได้ (สิ่งสกปรก สนิม เป็นต้น)
  3. ถ้าเป็นชนิดบรรจุน้ำในตัวจะต้องมีการเปลี่ยนน้ำตามคำแนะนำของผู้ผลิต หากไม่มีข้อแนะนำจากผู้ผลิต ให้เปลี่ยนน้ำทุก 1 เดือน
  4. ที่ล้างตาฉุกเฉินต้องสามารถเข้าถึงได้โดยง่ายและรวดเร็ว มีระยะไม่เกิน 30 เมตร (100 ฟุต) จากจุดเสี่ยงและคนงานต้องสามารถไปถึงได้ ภายใน 10 วินาที เส้นทางที่ไปต้องโล่ง ไม่มีสิ่งกีดขวาง เป็นเส้นทางตรงที่สุดเท่าที่จะทำได้และต้องมีแสงสว่างเพียงพอ  อย่างไรก็ตาม หากพื้นที่นั้น มีการใช้สารเคมีอันตรายสูง เช่น กรดแก่ ด่างแก่ หรือสารอื่นที่มีผลกระทบรุนแรง ควรติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินให้ติดกับพื้นที่นั้นๆหรือ ให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะทำได้
  5. จุดติดตั้งต้องอยู่ในพื้นที่ระดับเดียวกันกับพื้นที่ที่มีความเสี่ยง (เช่น ทางที่จะไปถึงไม่ควรต้องลงหรือขึ้นไปชั้นอื่นหรือเป็นทางลาดขึ้น-ลง) 
  6. อุณหภูมิของน้ำควรรักษาให้คงที่และควรอยู่ระหว่าง 15 -35 ํ C ํ ในกรณีที่เคมีทำให้ เกิดการไหม้ที่ผิวหนัง (Chemical burn) ควรให้น้ำมีอุณหภูมิอยู่ที่ 15C ํ และหากปฏิกิริยาเคมีเกิดขึ้นหรือถูกเร่งที่อุณหภูมิใดอุณหภูมิหนึ่ง ควรศึกษาจาก MSDS หรือผู้จำหนาย เพื่อขอข้อมูลอุณหภูมิน้ำที่จะใช้กับฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉิน
  7. ตำแหน่งการติดตั้ง  หัวฉีดน้ำล้างตาอยู่ในระยะ 33 นิ้ว (83.3 ซม.)-45 นิ้ว (114.3 ซม.) จากพื้น และห่างจากผนังหรือสิ่งกีดขวางที่อยู่ใกล้ที่สุดอย่างน้อย 6 นิ้ว (15.3 ซม)

สถานประกอบการใดจะติดตั้งฝักบัวอาบน้ำฉุกเฉินและ/หรือที่ล้างตาฉุกเฉิน ควรศึกษาค่ามาตรฐานที่เสนอไปแล้วข้างต้น เพื่อเทียบกับสินค้าของผู้ผลิต โดยสามารถเลือกใช้ได้ทั้งแบบที่เป็นฝักบัวหรือที่ล้างตาแบบแยกชุดต่างหาก และแบบที่รวมชุดมีฝักบัวและที่ล้างตารวมกัน พึงระลึกไว้เสมอ การปฏิบัติงานใดก็ตาม หากมีการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายเมื่อมีการสัมผัสกับผิวหนัง ดวงตาหรืออวัยวะสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้อง จำเป็นอย่างยิ่งที่นายจ้างต้องจัดหา ฝักบัวอาบน้ำและที่ล้างตาฉุกเฉินไว้ให้ลูกจ้างใช้ชำล้างอวัยวะที่สัมผัสกับสารเคมีนั้นเพื่อเป็นการลดอันตรายในเบื้องต้นให้เหลือน้อยที่สุด

 
ข้อมูลจาก กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สักนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

 

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม รวมทั้งสั่งซื้อสินค้าจากทาง www.tsafethai.com สามารถติดต่อมาได้ที่ 02-175-5651 หรือ email มาที่ salesteam01.gsi@gmail.com ค่ะ

อุปกรณ์ชำระล้างฉุกเฉิน / Safety Shower and Eye Wash

  • Emergency eyewash ชุดล้างตาฉุกเฉิน แบบติดผนัง ยี่ห้อ Terysafe Model : SS-B100
    0.00 ฿
  • Emergency Eyewash ชุดล้างตกฉุกเฉิน แบบตั้งพื้น ยี่ห้อ Terysafe Model SS-E150
    0.00 ฿
  • Emergency Shower ชุดฝักบัวฉุกเฉินแบบติดผนัง ยี่ห้อ Terysafe Model : SS-A100
    0.00 ฿
  • Emergency Shower and Eyewash ชุดฝักบัวและอ่างล้างตาฉุกเฉิน ยี่ห้อ Terysafe Model : SS-S150
    0.00 ฿
Visitors: 72,608