อันตรายจากงานเชื่อมแก๊ส

อันตรายจากงานเชื่อมแก๊ส

การใช้งานอุปกรณ์การเชื่อมหากไม่มีการใส่ใจความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจะเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุได้  ซึ่งที่ผ่านมาล้วนเป็นเหตุทําให้พนักงานบาดเจ็บหรือเสียชีวิต อันตรายที่รุนแรงของการเชื่อมแก๊ส เมื่อเกิดอุบัติเหตุคือไฟไหม้หรือการระเบิด  โดยมีปัจจัยต่างๆ ที่อาจทําให้เกิดเหตุ ดังต่อไปนี้

  • มีสิ่งของที่ติดไฟง่ายในบริเวณที่ทําการเชื่อม
  • การใช้งานหัวเชื่อมแก๊สอย่างไม่เหมาะสม
  • แก๊สรั่วไหลออกจากสายแก๊ส วาล์ว หรือชิ้นส่วนอื่นๆ
  • ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback arrestor)
  • การขนส่งท่อก๊าซออกซิเจนอย่างไม่ปลอดภัย

สภาวะการทํางานที่ปลอดภัย 

ข้อควรปฏิบัติ (Good practice) ในการทํางานเกี่ยวกับงานเชื่อมแก๊ส  ควรมีระบบการขออนุญาตทํางานเกี่ยวกับการเชื่อมแก๊ส (Permit to Work)  รวมถึงการตรวจประเมินอันตรายของสถานที่ที่ทําการเชื่อม โดยจะต้องมั่นใจว่าในบริเวณดังกล่าวจะต้องไม่มีสิ่งที่ติดไฟง่ายหรือระเบิดได้อยู่ใกล้ๆบริเวณที่จะทําการเชื่อมแก๊ส  

พนักงานทุกคนที่เกี่ยวข้องจะต้องได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัยเกี่ยวกับอุปกรณ์และการใช้งาน อุปกรณ์เชื่อมแก๊ส  รวมทั้ง พนักงานที่ปฏิบัติงานเชื่อมแก๊สจะต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลอย่างเหมาะสมและพร้อมที่จะระงับเพลิงไหม้ในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ในบริเวณทํางาน 

การเชื่อมแก๊สอย่างปลอดภัย 

ชนิดของหัวเชื่อมแก๊สจะต้องเหมาะสมกับงาน เมื่อหัวเชื่อมแก๊ส (Tip) ดับหรืออุดตันจะต้องมีการเปิดมาทําความสะอาด  วาล์วใช้งานของหัวเชื่อมแก๊สควรจะมีโครงสร้างหรือการป้องกันมิให้เปิดออกเองได้โดยบังเอิญ 

ข้อควรระวังในการนําอุปกรณ์การเชื่อมแก๊สไปใช้งาน 

  • บริเวณที่ทํางานไม่ควรมีสิ่งที่ติดไฟง่าย 
  • สายท่อแก๊ส (Hoses) ไม่ควรสัมผัสกับสิ่งที่ติดไฟง่าย แหล่งที่เกิดประกายไฟ หรือแหล่งความร้อนอื่น ๆ 
  • เมื่อไม่มีการใช้งานหรือสิ้นสุดการใช้งาน วาล์วที่ดามเชื่อมแก๊ส (Gas torch) ต้องปิดทันที 
  • ท่อแก๊สควรมีการจัดเก็บให้ห่างจากแหล่งกําเนิดความร้อน 

สายท่อแก๊สและการรัดข้อต่อ

ข้อต่อสายท่อแก๊สจะต้องรัดแน่นหรือถูกทําให้ติดเข้าด้วยกันในลักษณะที่ทนความดันอย่างน้อย 2 เท่าที่ใช้งานปกติ แต่ไม่น้อยกว่า 300 psi  และไม่ควรใช้ Jubilee clip รัดสายท่อแก๊สแทน Hose clamping device  เนื่องจากหากมีการสวมใส่ไม่รัดแน่น (Undertightened) หรือ การสวมใส่ที่รัดแน่นเกินไป (Overtightened) อาจเป็นสาเหตุทําให้สายท่อแก๊สรั่วซึม ดังนั้น  ควรมีการตรวจสอบและทดสอบหารอยรั่วของสายท่อแก๊ส  รอยไหม้รอบนอก และข้อบกพร่องต่างๆอย่างสม่ําเสมอ  หากมีการตรวจพบจะต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่มาทดแทนทันที 

                                 

 

ไฟย้อนกลับทาง (ฺBack Fire) สาเหตุที่ทำให้ไฟย้อนกลับทาง มี 4 ประการ คือ

  1.  เกิดจากความดันภายในท่อบรรจุอ๊อกซิเจน (Oxygen Cylinder) และท่อบรรจุอะเซทิลีน (Acetylene Cylinder) มีน้อย และไม่อยู่ในสภาพที่สมดุล (อย่างหนึ่งอย่างใดมาก และอีกอย่างน้อย)
  2. เกิดจากความดันภายในถังอ๊อกซิเจนและถังอะเซทิลีนที่นำมาใช้ ไม่เกิดความสมดุลในอัตรา 1:1  ทำให้เปลวไฟมีเสียงดังป๊อป  ในขณะเดียวกันก็จะทำให้เปลวไฟย้อนกลับ โดยปกติในการปรับความดันอ๊อกซิเจนและความดันอะเซทิลีนให้มีความสมดุลจะให้เปลวไฟที่รุนแรงและสิ้นเปลืองแก๊สโดยใช่เหตุ ถ้าปรับความดันแก๊สที่ต่ำกว่าความดันสมดุล จะทำให้มีเสียงดัง และไฟย้อนกลับทาง (Back Fire)
  3. เกิดจากหัวทิพจ่อลงไปในบ่อหลอมละลายของโลหะขณะร้อน ทำให้เปลวไฟดับและย้อนกลับเข้าหัวเชื่อม ทำให้ห้องผสมแก๊สร้อน และอาจย้อนกลับถึงกันได้
  4. หัวทิพอาจจะร้อนมากเกินไป โดยเฉพาะการเชื่อมแบ็คแฮนด์ (back hand) ซึ่งเป็นกรรมวิธีในการเชื่อมที่ให้ลวดเชื่อมและแนวเชื่อมอยู่ในทิศทางเดียวกัน และอยู่ตรงกันข้ามกับหัวทิพ หรือการเชื่อมแบบฟิลเลท (Fillet Weld) ต่อตัวที (T Joint) เมื่อไฟย้อนกลับจะผ่านหัวเชื่อม และสายเชื่อมแก๊ส อาจเข้าถังได้ จึงต้องมีตัวป้องกันไฟย้อน (Anti Back Fire) ติดตั้งไว้ระหว่างหัวเชื่อม (Torch) กับ สายแก๊ส (Hose)

อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (Flashback Arrestor) มีแบบท่อให้แก๊สไหลผ่านได้ทางเดียว เฉพาะแก๊สไหลออกมาใช้งาน ส่วนแก๊สไหลย้อนกลับ ไม่สามารถไหลผ่านได้ เครื่องป้องกันไฟย้อนกลับอีกชนิดหนึ่ง คือ ถังน้ำ ติดตั้งไว้ระหว่างแหล่งกำเนิดแก๊สและหัวเชื่อม มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกัน คือ ป้องกันไม่ให้ไฟย้อนกลับถึงถังบรรจุแก๊สได้

                             

หากคุณกำลังมองหา อุปกรณ์ป้องกันไฟย้อนกลับ (FlashBack Arrestor) ที่ป้องกันได้ 100% เป็นสินค้านำเข้าจากเยอรมันนี มั่นใจได้ในเรื่องความปลอดภัย  พร้อมให้คำปรึกษาเรื่องการติดตั้ง มีวีดีโอการทำงานของระบบ หากต้องการคลิปวีดีโอติดต่อมาได้เลยครับ ยินดีให้คำปรึกษาฟรีติดต่อมาได้ที่ บ.จีเอสไอ อินเตอร์เนชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด โทร 02-175-5651 email: gsicorp@hotmail.com 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  สํานักเทคโนโลยีความปลอดภัย   กรมโรงงานอุตสาหกรรม

 

Visitors: 65,722