อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลสำหรับงานก่อสร้าง

การก่อสร้างมีกระบวนการการทำงานที่ซับซ้อนตามรูปแบบและขนาดของสิ่งก่อสร้างนั้นๆ มีความเสี่ยงและอันตรายจากการทำงานค่อนข้างสูง จึงจำเป็นต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้เหมาะสมกับลักษณะงานนั้นๆให้กับผู้ปฏิบัติงาน เช่น

1.  อุปกรณ์ป้องกันดวงตาและใบหน้า (eye and Face Protection) 

           - แว่นตา (Spectacles or Glasses) ป้องกันอันตรายกับการทำงานที่มีเศษวัสดุกระเด็นเข้าตา มีทั้งแบบไม่มีกระบังข้าง และแบบมีกระบังข้าง ป้องกันการกระเด็นจากด้านหน้าและด้านข้าง

           - แว่นครอบตา (Goggles) ป้องกันอันตรายจากการกระแทกของวัตถุ ป้องกันสารเคมี และป้องกันอันตรายจากแสงที่เกิดจากการทำงานเชื่อมโลหะ แต่ต้องมีเลนส์กรองแสงชนิดพิเศษ

           - กระบังป้องกันใบหน้า (Face Shield)  ป้องกันอันตรายต่อใบหน้า ดวงตารวมไปถึงลำคอ จากการกระเด็น กระแทกของวัตถุ หรือสารเคมี

           - หน้ากากสำหรับเชื่อม (Welding Shields) ใช้ในงานเชื่อม สามารถป้องกันอันตราย จากการกระเด็นของเศษโลหะ ความร้อน แสงจ้า และรังสีจากการเชื่อม

2. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ (Head Protection) หมวกนิรภัยใช้สำหรับป้องกันศีรษะที่อาจเกิดจากการกระเเทก หรือสิ่งของร่วงหล่นใส่ขณะปฏิบัติงาน

3. อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน (Ear Protection)ใช้ป้องกันหู ในพื้นที่ทำงานก่อสร้างที่มีเสียงดังมากกว่าปกติ (40 – 120 เดซิเบล) เป็นระยะเวลานาน

           - ปลั๊กอุดหู (Ear plugs) ทั้งชนิดใช้แล้วทิ้งและชนิดที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 

           - ที่ครอบหู (Earmuffs)

 

4.  อุปกรณ์ป้องกันมือ (Hand Protection   ถุงมือนิรภัย ใช้เพื่อป้องกันมือจากความร้อน ของมีคม สะเก็ดไฟจากงานตัดหรืองานเชื่อม และงานที่ต้องสัมผัสสารเคมี เป็นต้น 

           - ถุงมือยาง ป้องกันสารเคมี และเชื้อโรค 

           - ถุงมือหนัง ป้องกันอันตรายจากของมีคม การขัด เสียดสี การขูดขีดหรือบาด ความสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น เป็นต้น

           - ถุงมือตาข่ายลวด เหมาะสำหรับป้องกันอันตรายจากของมีคม การตัดหรือการเฉือน 

           - ถุงมือผ้า เหมาะสำหรับการทำงานทั่วไป 

           - ถุงมือป้องกันไฟฟ้า 

           - ถุงมือป้องกันอุณหภูมิ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสวัตถุที่มีอุณหภูมิร้อนจัดหรือเย็นจัด 

           - ถุงมือป้องกันรังสี จะเป็นถุงมือประเภทที่เคลือบด้วยตะกั่ว เนื่องจากตะกั่วช่วยป้องกันอันตรายจากรังสี  

    5.    อุปกรณ์ป้องกันเท้า (foot Protection)  รองเท้านิรภัยเป็นรองเท้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับนิ้วเท้าของผู้ปฏิบัติงาน โดยหัวรองเท้าจะมีทั้งแบบโลหะ และหัวพลาสติกที่มีความทนทานสูง เพื่อใช้ป้องกันการกระแทก หรือสิ่งของที่มีน้ำหนักมากตกใส่เท้า พื้นรองเท้าบางรุ่นมีแผ่นเหล็กด้วย เพื่อป้องกันของมีคมที่อาจแทงทะลุผ่านพื้นรองเท้า นอกจากนี้รองเท้ายังป้องกันน้ำมัน ไฟฟ้า และ กรด-ด่าง ได้อีกด้วย 

    6.    อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง (fall Protection)  ชุดอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงานบนที่สูง ประกอบด้วยอุปกรณ์ต่างๆ ดังนี้ 

           - เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) หรือ เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Safety Harness) ใช้สำหรับพยุงลำตัวของผู้ปฏิบัติงานเมื่อตกจากที่สูง เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน ควรเลือกใช้ Safety Harness แทน Safety Belt เพราะเมื่อเกิดการตก เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัวจะพยุงหลังและลำตัวได้ดีกว่าเข็มขัดนิรภัยธรรมดา 

           - เชือกนิรภัย (Lanyards) จะมีตัวล๊อคด้านหนึ่งยึดติดกับเข็มขัดนิรภัยและอีกด้านจะเป็นตะขอเพื่อใช้สำหรับเกี่ยวกับคานหรือนั่งร้านที่มีความมั่นคงแข็งแรง หรือใช้เกี่ยวล๊อคกับสายช่วยชีวิต เพื่อป้องกันการตก 

           - สายช่วยชีวิต (Lifelines) จะใช้ในกรณีที่พื้นที่นั้นไม่มีจุดแขวนตะขอของเชือกนิรภัยที่ปลอดภัย เช่น การปฏิบัติงานบนหลังคา การปฏิบัติในลักษณะที่เป็นแนวดิ่ง เป็นต้น 

     7.  เสื้อสะท้อนแสง (Protective Clothing/Reflected Vests) เสื้อสะท้อนแสงเป็นชุดที่ช่วยให้คนสวมใส่ปลอดภัย ช่วยให้มองเห็นได้ชัดขณะกำลังปฏิบัติงาน ในสภาพแสงของกลางวันหรือกลางคืน        

    

หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม รวมทั้งสั่งซื้อสินค้าจากทาง tsafethai.com สามารถติดต่อมาได้ที่ 02-175-5651 หรือ email มาที่ salesteam01.gsi@gmail.com 

 

Visitors: 70,248